อโลคาเซีย

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Azlanii’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Azlanii’

อโลคาเซีย อัสลานิอาย (Alocasia 'Azlanii') ... สีสวย จนแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง ...

เป็นไม้ใบในกลุ่มอโลคาเซียที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอโลคาเซียที่หายาก มีขนาดเล็กกระทัดรัดซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในพื้นที่ของเกาะบอร์เนียว (Borneo) ใบเป็นรูปทรงวงรีปลายใบแหลม ผิวหน้าใบเป็นมันเงามีสีเขียวเข้มเจือด้วยสีม่วงแดง ขอบใบสีขาว หลังใบมีสีม่วง เมื่อหน้าใบสะท้อนกับแสงแดดหรือแสงไฟจะเห็นสีม่วงแดงเป็นประกายชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจัดเป็นลักษณะที่โดดเด่นและเป็นเฉดสีที่พบได้ยากในไม้ใบโดยทั่วไป และด้วยขนาดที่กระทัดรัดจึงเหมาะแก่การปลูกเลี้ยงในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ออฟฟิศ คอนโดฯ และภายในบ้าน

 

การดูแลรักษา

  • ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมาก แต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้าได้ค่ะ
  • อุณหภูมิที่เหมาะสม: 15-35 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (สามารถปรับเพิ่มและลดการให้นำได้โดยอิงจากสภาพความชื้นและภูมิอากาศ โดยรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไป และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 40%-75% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกัน จะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรละลายน้ำสามารถผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกทุก 6 สัปดาห์ค่ะ
  • ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่ง และเก็บความชื้นได้ดีเพื่อป้องกันรากเน่า ยกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้  กาบมะพร้าวสับ เพอไลท์เมล็ดหยาบ หินภูเขาไฟ และพีทมอส

 

ข้อแนะนำ

  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงลดการให้ปุ๋ย และเปลี่ยนการรดน้ำจากเดิมมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนกระถางบ่อยๆโดยไม่จำเป็น เนื่องจากจะเป็นการไปรบกวนระบบราก และทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ค่ะ
  • เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  • พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  • หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จากบทความ ทำไมอโลคาเซีย (Alocasia) ถึงใบเหลือง !? เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Botanical Name)

  • Alocasia ‘Azlanii’

ชื่ออื่นๆ (Other Names)

  • อโลคาเซีย อัสลานิอาย (หรือ อัสลานี่)
  • Jewel Alocasia
  • Red Mambo

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม (Natural Habitat)

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เกาะบอร์เนียว)
  • South East Asia (Borneo)

กลุ่มไม้ฟอกอากาศ (Air Purifying)

  • ใช่ / Yes

ความสูงตามธรรมชาติ (Plant Height – Max.)

  • 60-80 เซนติเมตร (CM)

ความเป็นพิษ (Toxicity)

  • เป็นอัตรายหากนำเข้าปาก โปรดระมัดระวังหากมีเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • Calcium Oxalate (สารที่พบในพืชกลุ่ม Araceae) สามารถทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองได้
  • Toxic if ingested, Keep away from small children and pets.
  • Insoluable Calcium Oxalate (found in plants of Araceae family) causes skin and eye irritant.

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Zebrina’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Zebrina’

อโลคาเซีย เซบรินา (Alocasia 'Zebrina')

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Botanical Name)

  • Alocasia ‘Zebrina’

ชื่ออื่นๆ (Other Names)

  • อโลคาเซียม้าลาย

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม (Natural Habitat)

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • South East Asia

กลุ่มไม้ฟอกอากาศ (Air Purifying)

  • ใช่ / Yes

ความสูงตามธรรมชาติ (Plant Height – Max.)

  • 100-120 เซนติเมตร (CM)

ความเป็นพิษ (Toxicity)

  • เป็นอัตรายหากนำเข้าปาก โปรดระมัดระวังหากมีเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • Calcium Oxalate (สารที่พบในพืชกลุ่ม Araceae) สามารถทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองได้
  • Toxic if ingested, Keep away from small children and pets
  • Insoluable Calcium Oxalate (found in plants of Araceae family) causes skin and eye irritant

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia sarawakensis ‘Yucatan Princess’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia sarawakensis ‘Yucatan Princess’

Alocasia sarawakensis 'Yucatan Princess'

อโลคาเซีย ‘ยูคาตัน ปริ้นเซส’ ไม้ใบเขตร้อน ปลูกง่าย โตไว มีใบที่สวยงาม ลักษณะเมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 4-8 ฟุต สูงสง่าใบขนาดใหญ่ทรงหัวใจสีเขียวเข้มอมเทามีความมันเงา และมีก้านสีน้ำตาลช๊อคโกแลตแกมม่วง เลี้ยงง่ายและทนทาน สามารถปลูกได้ทั้งในที่ๆมีแสงมากและในพื้นที่แสงรำไร (เลี่ยงแดดจัดโดยตรงนะคะ เพราะอาจทำให้น้องใบไหม้ได้ค่ะ) ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ เหมาะแก่การจัดสวน และตกแต่งบริเวณชานบ้านหรือในบ้าน

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสงสว่าง ☀️ : สามารถปลูกได้ทั้งในที่ๆมีแสงมากและในพื้นที่แสงรำไร และสามารถรับแสงช่วงบ่ายได้ (เลี่ยงแดดจัดโดยตรงนะคะ เพราะอาจทำให้น้องใบไหม้ได้ค่ะ)
  • อุณหภูมิ 🌡: 20-25 C.
  • น้ำ 💧 : รดน้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (รดเมื่อผิวดิน 1-2 ซม. ด้านบนเริ่มแห้ง) และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่าค่ะ
  • ความชื้น 💦 : เนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบความชื้น การปลูกในห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย : สามารถให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าทุกๆ 3 เดือน
  • วัสดุปลูก : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยรักษาความชื้นแต่ระบายน้ำได้ดี เช่น เพอร์ไลท์, หินภูเขาไฟ

ข้อควรรู้

  • พืชชนิดนี้มีดอกเป็นสีขาวครีมแต่จะพบได้น้อย ส่วนใหญ่มักไม่ออกดอก
  • หากเลือกปลูกนอกบ้านควรหลีกเลี่ยงการวางเดี่ยวๆในบริเวณที่มีลมพัดแรง เนื่องจากจะทำให้ต้นเสียหายได้
  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงเปลี่ยนการรดน้ำมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • ใบของอโลคาเซียสามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia reginula ‘Black Velvet’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia reginula ‘Black Velvet’

Alocasia ‘Black Velvet’ มังกรกำมะหยี่ แบล็คเวลเวท

ครั้งนี้ “สวนเกษตร 32” จะมาแนะนำไม้ใบฟอกอากาศที่มีความสวยงามโดดเด่น เป็นที่นิยม และครองใจคนรักต้นไม้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังถูกจัดให้เป็นอีกหนึ่งอัญมณีในกลุ่มอโลคาเซียด้วยค่ะ

Alocasia reginula ‘Black Velvet’ หรือ มังกรกำมะหยี่ เป็นพืชในกลุ่มอโลคาเซียที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในพื้นที่ของเกาะบอร์เนียวเช่นเดียวกับ อโลคาเซีย เกล็ดมังกร (Dragon Scale) ลักษณะลำต้นและใบอวบน้ำ รูปร่างของใบเป็นทรงหัวใจกลมมน ใบหนาสีเขียวเข้มเกือบดำผิวมีหน้าใบนุ่มนวลคล้ายกับผ้ากำมะหยี่ ตัดสีสันด้วยเส้นใบสีเงิน ความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25-40 ซ.ม.(ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวิธีปลูกเลี้ยง)

ด้วยความที่เป็นไม้กระถางที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด แต่เรียบหรู และสวยอย่างมีสไตล์ จึงได้รับการขนานนามว่า “ราชินีตัวน้อย” ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า Reginula ที่เป็นคำในภาษาละตินนั่นเองค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสง: ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมากแต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้าได้ค่ะ
  • อุณหภูมิ: 12-30 C. และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 C
  • น้ำ: ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (สามารถปรับเพิ่มและลดการให้นำได้โดยอิงจากสภาพความชื้นและภูมิอากาศ โดยรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไปและหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • ความชื้น:  เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 40%-75% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย: สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรละลายน้ำสามารถผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกทุก 6 สัปดาห์ค่ะ
  • วัสดุปลูก: ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งและเก็บความชื้นได้ดีเพื่อป้องกันรากเน่า ยกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้  กาบมะพร้าวสับ เพอไลท์เมล็ดหยาบ หินภูเขาไฟ และพีทมอส

ข้อควรรู้

  1. อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงลดการให้ปุ๋ย และเปลี่ยนการรดน้ำจากเดิมมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  2. ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนกระถางบ่อยๆโดยไม่จำเป็นเนื่องจากจะเป็นการไปรบกวนระบบรากและทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ค่ะ
  3. เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  4. พืชชนิดนี้มีดอกขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวครีมซึ่งไม่ค่อยดึงดูดสายตานัก หากผู้ปลูกเลี้ยงไม่ต้องการก็สามารถตัดดอกทิ้งไปได้เพื่อสงวนสารอาหารให้กับต้นในการสร้างใบใหม่ต่อไปค่ะ
  5. พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  6. หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/alocasia-turning-yellow/ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’

สวยเกินหน้าเกินตาเพื่อน สวยแบบไม่เกรงใจใคร Alocasia 'Dragon Scale'

วันนี้แอดจะพามารู้จักกับไม้ใบที่สวยแบบไม่ธรรมดากับ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’ (อโลคาเซีย บากินดา ดรากอน สเคล) หรือ อโลคาเซีย เกล็ดมังกร ไม้ใบที่ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอัญมณีแห่งอโลคาเซีย ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงอโลคาเซียค่ะ

Alocasia baginda ‘Dragon Scale’ (อโลคาเซีย บากินดา ดรากอน สเคล) มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อนของเกาะบอเนียว มีลักษณะโดดเด่น ใบหนา ผิวหน้าใบมีความเงางาม มีเส้นใบและลายใบที่ชัดเจนคล้ายหินแกะสลัก หน้าใบเป็นสีเงินเหลือบเขียวโทนสว่างและไล่สีเขียวเข้มขึ้นไปที่เส้นใบ ด้านหลังใบเป็นสีครีมอ่อนๆ เส้นใบด้านหลังเป็นสีม่วงมารูน(ม่วงอมแดง) ใบอ่อนจะมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อโตเต็มที่ ด้วยลวดลายและเส้นใบที่เป็นเอกลักษณ์จึงได้รับสมญานามว่า Dragon Scale หรือเกล็ดมังกรนั่นเอง

ด้วยความสวยงามและมีรูปลักษณ์โดดเด่น แปลกตา จึงสวยสะดุดตาผู้ชมแม้จะจัดวางเดี่ยวๆ หรือหากวางเป็นกลุ่มร่วมกับไม้ชนิดอื่นๆก็สวยเด่นดึงดูดสายตาผู้ชมได้เป็นอย่างดีเช่นกัน อีกทั้งพืชชนิดนี้ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของอโลคาเซียที่ไม่ต้องการการดูแลมากนัก เหมาะที่จะเลี้ยงในบ้านอีกด้วยค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสง ☀️ : ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมากแต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้าได้ค่ะ (ควรหลีกเลี่ยงการวางหน้าคอมเพรสเซอร์แอร์ เนื่องจากลมร้อนที่พัดออกมาจะทำให้ต้นไม้เสียหายได้ค่ะ)
  • อุณหภูมิ ☀️: 13-30 C. และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 C
  • น้ำ 💧 : ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (สามารถปรับเพิ่มและลดการให้นำได้โดยอิงจากสภาพความชื้นและภูมิอากาศ โดยรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไปและหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • ความชื้น 💦 : เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 60%-80% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้น
  • ปุ๋ย 🌱 : สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรละลายน้ำสามารถผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกทุก 6 สัปดาห์ค่ะ
  • วัสดุปลูก 💧 : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งและเก็บความชื้นได้ดียกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้ กาบมะพร้าวสับ เพอไลท์เมล็ดหยาบ และพีทมอส

ข้อควรรู้

  1. อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงลดการให้ปุ๋ย และเปลี่ยนการรดน้ำจากเดิมมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  2. ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนกระถางบ่อยๆโดยไม่จำเป็นเนื่องจากจะเป็นการไปรบกวนระบบรากและทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ค่ะ
  3. เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  4. พืชชนิดนี้มีดอกขนาดเล็กกลีบดอกสีม่วงอ่อนๆซึ่งไม่ค่อยสวยงามนัก หากผู้ปลูกเลี้ยงไม่ต้องการก็สามารถตัดดอกทิ้งไปได้เพื่อสงวนสารอาหารให้กับต้นในการสร้างใบใหม่ต่อไปค่ะ
  5. พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  6. หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/alocasia-turning-yellow/ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia wentii เวนติไอ

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia wentii เวนติไอ

Alocasia wentii (อโลคาเซีย เวนติไอ)

ไม้ใบสวยเขตร้อน 🌏 มีใบรูปทรงหัวใจหน้าใบสีเขียวเป็นมันเงา 💚 ลักษณะใบแผ่กว้าง ใต้ใบมีสีบร๊อนซ์อมแดงม่วง 🤎 ขนาดของต้นจะใกล้เคียงกับแก้วสารพัดนึก ความสูงเมื่อโตเต็มที่อาจสูงได้ถึง 60 ซม.(ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลูกเลี้ยง) ด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่มากจึงเหมาะกับการปลูกเลี้ยงเพื่อตกแต่งบ้านและอาคาร 🏡 ชอบแสงสว่างแบบรำไร ⛅️ เลี้ยงง่าย รดน้ำไม่บ่อย เพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสงสว่าง ☀️ : ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมากแต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเป็นเวลานานเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายได้บ้าง
  • อุณหภูมิ 🌡: 13-30 C. และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 C
  • น้ำ 💧 : ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (รดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไปและหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • ความชื้น 💦 : เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 60% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย 📋: สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรเสมอชนิดผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกเดือนละครั้งค่ะ
  • วัสดุปลูก 🪵 : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งและเก็บความชื้นได้ดียกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้ กาบมะพร้าวสับ เม็ดดินเผา เพอไลท์เมล็ดหยาบ และพีทมอส

ข้อควรรู้

  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงเปลี่ยนการรดน้ำมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  • เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  • หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิงค์นี้ https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/alocasia-turning-yellow เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Pink Dragon’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Pink Dragon’

Alocasia baginda 'Pink Dragon' (อโลคาเซีย พิ้งค์ ดรากอน)

ไม้ใบฟอกอากาศสำหรับคนรักสีชมพู 💓ใครเห็นเป็นต้องหลงรัก
💖🐲 Alocasia Pink Dragon 🐲💖 (อโลคาเซีย พิ้งค์ ดรากอน) ***** แก้วสารพัดนึกก้านชมพู *****

ไม้ใบในตระกูลอโลคาเซีย 🌱 ที่มีใบกลมรีปลายแหลม มีสีเขียวเข้มมันเงา มีเส้นใบเป็นสีเงิน และมีก้านเป็นสีชมพู มีขนาดของที่กระทัดรัด ไม่ใหญ่มาก ความสูงของต้นใกล้เคียงกับแก้วสารพัดนึก (นักปลูกชาวไทยบางท่านเรียกไม้ชนิดนี้ว่า อโลคาเซียก้านชมพู หรือ แก้วสารพัดนึกก้านชมพู)

เป็นไม้ที่ชอบแสงสว่างแบบรำไร 🌥 ไม่ต้องการแดดจัดหรือแสงแดดโดยตรง และชอบเครื่องปลูกที่มีความชื้นอยู่เสมอแต่ต้องไม่แฉะจนเกินไป 💦

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสงสว่าง ☀️ : ชอบแสงรำไร ชอบความสว่างแต่ไม่ต้องการแดดจัด และไม่ต้องการรับแสงแดดโดยตรง
  • อุณหภูมิ 🌡 : 18 – 29 C.
  • น้ำ 💧 : สามารถรดน้ำทีละน้อยแต่รดบ่อยๆทุกๆ 1-2 วันเพื่อรักษาความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งจนเกินไปเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่าค่ะ
  • ความชื้น 💦 : เนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบความชื้น การปลูกในห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ค่ะ แต่หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย 🌱 : สามารถให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าเดือนละ 1 ครั้ง
  • วัสดุปลูก 🪵 : เลือกวัสดุปลูกที่สามารถเก็บความชื้นแต่ยังสามารถระบายน้ำได้ดีเพื่อป้องกันรากเน่า

ข้อควรรู้

  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงเปลี่ยนการรดน้ำมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
ทำไม… อโลคาเซีย (Alocasia) ถึงใบเหลือง !?

ทำไม… อโลคาเซีย (Alocasia) ถึงใบเหลือง !?

เกี่ยวกับพืชในกลุ่ม อโลคาเซีย

พืชในกลุ่มอโลคาเซียเป็นไม้ที่พบได้ในธรรมชาติแถบเอเชียและออสเตรเลีย มักขึ้นในป่าดิบชื้นหรือตามริมแหล่งน้ำ เป็นพืชที่มีลักษณะและลวดลายของใบที่สวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ยกตัวอย่างพืชกลุ่มอโลคาเซีย อาทิเช่น แก้วสารพัดนึก (Alocasia amazonica ‘Dwarf’) อโลคาเซียม้าลาย (Alocasia ‘Zebrina’) อโลคาเซียหูช้าง (Alocasia ‘Sarian’) อโลคาเซียหางกระเบน (Alocasia ‘Stingray’) เป็นต้น

ด้วยความสวยงามนี้จึงครองใจนักปลูกไม้ใบหลายๆท่าน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราจะดูแลเป็นอย่างดีแต่เราก็มักพบว่าพืชตระกูลนี้มักจะมีอาการใบเหลืองอยู่เป็นประจำ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงสาเหตุที่ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในพืชกลุ่มอโลคาเซียกันค่ะ

1. อายุของใบ

สาเหตุอันดับต้นๆของอาการใบเหลืองโดยทั่วๆไปคือการผลัดใบแก่ทิ้งไปตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามปกติเมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้น และไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ

2. การได้รับน้ำที่มากเกินไป

อาการใบเหลืองในพืชกลุ่มอโลคาเซียโดยส่วนใหญ่มักมาจากการได้รับน้ำที่มากเกินไป ถึงแม้ว่าอโลคาเซียจะเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่หากเรารดน้ำมากเกินไปจนวัสดุปลูกชื้นแฉะและมีน้ำขังก็อาจทำให้รากเน่าได้ ซึ่งการที่ใบกลายเป็นสีเหลือง-น้ำตาลกระจายไปทั่วใบเป็นอาการบ่งชี้ในระยะเริ่มต้นของโรครากเน่า หากปล่อยไว้จนอาการลุกลามอาจทำให้ต้นไม้ของเราตายได้ค่ะ

ข้อแนะนำ : ควรผสมวัสดุปลูกที่ช่วยเพิ่มความโปร่งให้กับดิน เช่น เพอร์ไลท์, หินภูเขาไฟ และเลือกปลูกในกระถางหรือภาชนะที่มีรูระบายน้ำอย่างเพียงพอ และหมั่นเทน้ำขังในจานรองทิ้งทุกครั้งหลังรดน้ำค่ะ

3. ความชื้นในอากาศที่ไม่เพียงพอ

อโลคาเซียเป็นพืชที่เติบโตได้ดีท่ามกลางความชื้นในอากาศประมาณ 60%-70% ดังนั้นการปลูกเลี้ยงอโลคาเซียในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นต่ำ(น้อยกว่า 50%) อาจเป็นสาเหตุของใบหมอง ไม่เงางามได้ค่ะ

ข้อแนะนำ : เราอาจเปลี่ยนตำแหน่งที่วางต้นอโลคาเซียไปยังที่ๆมีความชื้นเช่น ห้องน้ำ ห้องครัว(ควรคำนึงถึงแสงสว่างในสถานที่นั้นๆด้วยนะคะ) หรืออาจวางไว้ใกล้กับเครื่องพ่นไอน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น และอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้คือการวางกระถางบนจานรองที่มีเม็ดดินเผาหล่อน้ำไว้(ระดับของน้ำจะต้องไม่สูงไปกว่าเม็ดดินเผา) เพื่อให้น้ำระเหยขึ้นมาเพิ่มความชื้นให้กับต้นอโลคาเซียของเราค่ะ

4. แสงสว่าง

แสงสว่างเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ใบของพืชในกลุ่มอโลคาเซียเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ถึงแม้ว่าอโลคาเซียจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพืชที่ชอบแสงแบบรำไรเนื่องจากตามธรรมชาติแล้วเป็นพืชที่เติบโตภายในร่มเงาของต้นไม้ชนิดอื่นๆในป่า แต่การปลูกเลี้ยงภายในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอก็มักจะทำให้อโลคาเซียใบเหลืองได้ อย่างไรก็ตามหากเราพบว่าอโลคาเซียที่เราเลี้ยงใบซีด หมอง ดูไม่สดใส หรือเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเราสามารถแก้ไขได้โดยย้ายต้นอโลคาเซียไปวางใกล้กับหน้าต่างหรือมุมที่สว่างมากขึ้นค่ะ(แต่ต้องไม่โดดแดดจัดส่องโดยตรง เนื่องจากจะเป็นสาเหตุของใบไหม้ได้ค่ะ)

5. อุณหภูมิ

หากอโลคาเซียที่เราเลี้ยงมีใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและดูทรุดโทรม อาจเป็นไปได้ว่าอุณหภูมิในบริเวณที่ปลูกเลี้ยงต่ำเกินไปค่ะ เนื่องจากอโลคาเซียเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในเขตอบอุ่น (18-29c) และไม่สามารถทนต่อความหนาวเย็น(ต่ำกว่า 13c) ฉะนั้นการปลูกเลี้ยงในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมมักทำให้อโลคาเซียไม่งอกงามเท่าที่ควรค่ะ

ข้อแนะนำ : หลีกเลี่ยงการปลูกเลี้ยงในบริเวณที่มีอุณหภูมิเย็นจัด และหากต้องการย้ายไปยังที่ๆอุณหภูมิสูงขึ้นควรค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิทีละนิดเพื่อให้ต้นอโลคาเซียได้มีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ค่ะ

6. การปนเปื้อนของน้ำ

คุณภาพของน้ำส่งผลต่อใบของอโลคาเซียได้เช่นกัน การใช้น้ำที่มีแร่ธาตุมากจนเกินไปหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีมักเป็นสาเหตุของใบจุด ใบเหลือง ปลายใบไหม้ และใบหมอง ดูไม่สดใส

ข้อแนะนำ : เลือกใช้น้ำดื่ม(ที่ไม่ใช่น้ำแร่) น้ำกรอง หรือน้ำฝน หรือหากต้องใช้น้ำประปาแนะนำให้รองใส่ภาชนะที่ไม่ปิดฝา วางทิ้งไว้ 2-3 วันเพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อนนำมาใช้งาน

7. แมลงศัตรูพืชรบกวน

แมลงศัตรูพืช สัตว์ที่เป็นต้นเหตุสร้างความเสียหายทำให้ต้นไม้แห้งเหี่ยวและตายได้ สร้างความรำคาญใจแก่นักปลูกต้นไม้หลายๆท่าน แมลงที่มักพบในพืชกลุ่มอโลคาเซียได้แก่ เพลี้ยแป้ง ไรแดง และเพลี้ยอ่อน ซึ่งกลุ่มแมลงเหล่านี้จะคอยดูดน้ำเลี้ยงจากเซลพืชส่งผลให้ใบพืชขาดน้ำและก่อให้เกิดจุดเล็กๆสีขาวหรือสีน้ำตาลบนใบ ใบซีดเหลือง และเกิดอาการใบหงิก เหี่ยวและตายในที่สุด

ข้อแนะนำ : เพื่อเป็นการป้องกันแมลงศัตรูพืช ควรหมั่นเช็ดใบด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำจัดแมลงที่อาจติดมากับฝุ่นละอองต่างๆและคอยหมั่นสังเกตุรอยโรคตามใบ  หากพบว่ามีแมลงรบกวนแนะนำว่าควรแยกต้นที่มีแมลงรบกวนออกจากต้นอื่นๆเพื่อป้องกันการลุกลาม ใช้น้ำสะอาดล้างก้านและใบเพื่อให้แมลงหลุดออกให้ได้มากที่สุดและใช้ผ้าชุบน้ำที่ผสมกับน้ำยาล้างจานอ่อนๆเช็ดให้ทั่วทั้งใบและก้านที่พบแมลง ทำซ้ำทุกๆ 4-6 วัน ทั้งหมด 3-4 ครั้ง จนกว่าแมลงจะถูกกำจัดไปจนหมดค่ะ (วิธีนี้เป็นวิธีเบื้องต้นที่ไม่เป็นพิษต่อที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม)

8. การให้ปุ๋ยมากจนเกินไป (ดินเค็ม)

การที่ต้นอโลคาเซียได้รับปุ๋ยมากจนเกินไปสามารถส่งผลให้ปลายใบและขอบใบไหม้ ใบเหลืองและต้นตายได้ หากเราสงสัยว่าอาการใบเหลืองของต้นอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงอาจมีที่มาจากการได้รับปุ๋ยมากจนเกินไป เราสามารถแก้ไขปัญหาดินเค็มเบื้องต้นได้โดยการรดน้ำต้นไม้ของเราให้ดินชุ่มและให้น้ำระบายทิ้งออกทางก้นกระถางเพื่อเจือจางปุ๋ยและแร่ธาตุส่วนเกินในดินทิ้งไป (สามารถทำได้ทุกๆ 1-2 เดือน) และควรเว้นระยะห่างในการให้ปุ๋ยมากขึ้น เช่น จากทุกๆ 2 เดือน เปลียนเป็นทุกๆ 3-4 เดือน และคอยสังเกตุว่าอาการใบเหลืองละใบใหม้ยังคงลุกลามหรือไม่ค่ะ และเราสามารถเลือกใช้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าและใส่ในปริมาณที่น้อยๆก่อน โดยปุ๋ยชนิดนี้จะค่อยๆปล่อยสารอาหารแก่ดินทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการได้รับปุ๋ยที่มากจนเกินไปค่ะ

ข้อแนะนำ : อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัวในฤดูหนาวซึ่งมักจะไม่ต้องการการบำรุงเป็นพิเศษ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถเว้นการให้ปุ๋ยในช่วงนั้นไปก่อนและสามารถให้ปุ๋ยอีกครั้งหลังจากหมดช่วงพักตัวค่ะ


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านเพื่อเป็นแนวทางในการปลูกเลี้ยงพืชในกลุ่ม Alocasia กันนะคะ แล้วพบกันใหม่กับบทความหน้าค่ะ

SHOPEE LOGOสนใจเข้าชมร้านค้าปลีกของเราใน Shopee 


แชร์หน้านี้
Posted by Ornusa Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia macrorrhiza ‘Stingray’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia macrorrhiza ‘Stingray’

Alocasia macrorrhiza 'Stingray' (อโลคาเซีย หางกระเบน)

Alocasia Stingray เป็นไม้ใบที่ช่วยฟอกอากาศ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเขตร้อนชื้น มีใบที่มีลักษณะสวยสง่าและโดดเด่น ใบมีรูปทรงกลมและมีปลายแหลมยาวลักษณะคล้ายปลากระเบน มีความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1-1.2 เมตร เป็นไม้ที่ไม่ต้องการการดูแลมาก ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ ชอบแสงรำไรค่อนไปทางสว่างแต่ไม่ชอบแดดจัด

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

แสงสว่าง ☀️ : ชอบแสงรำไร ชอบความสว่างแต่ไม่ต้องการแดดจัด และไม่ต้องการรับแสงแดดโดยตรง
อุณหภูมิ 🌡: 18 – 22 องศาเซลเซียส (C)
การให้น้ำ 💧 : สามารถรดน้ำทีละน้อยแต่รดบ่อยๆทุกๆ 1-2 วันเพื่อรักษาความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งจนเกินไปเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่าค่ะ
ความชื้น 💦 : เนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบความชื้น การปลูกในห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ค่ะ แต่หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
ปุ๋ย 🌱 : สามารถให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าเดือนละ 1 ครั้ง
วัสดุปลูก 🪵 : เลือกวัสดุปลูกที่สามารถเก็บความชื้นแต่ยังสามารถระบายน้ำได้ดี

ข้อควรรู้

  • พืชในกลุ่มอโลคาเซีย มักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงเปลี่ยนการรดน้ำมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • อโลคาเซียหางกระเบน สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้